แนวข้อสอบโวหารภาพพจน์
๑. ข้อใดไม่ปรากฏในคำประพันธ์ต่อไปนี้
ใบโพธิ์สุวรรณห้อย รยาบย้อยบรุงรัง
ลมพัดกระดึงดัง เสนาะศัพทอลเวง
เสียงดุจสังคีต อันดึงดีดประโคมเพลง
เพียงเทพบรรเลง รเรื่อยจับระบำถวาย
ก. สัมผัสอักษร ข. การใช้ภาพพจน์
ค. การแสดงนาฏการ ง. การใช้เล่นคำ
๒. จากบทประพันธ์ที่กำหนดให้มีลักษณะเด่นอย่างไร
อดีตแต่นานนิทานหลัง มีนครหนึ่งกว้างสำอางศรี
ชื่อจำบากหลากเลิศประเสริฐดี เจ้าธานียศกิตติ์มหิศรา
ดำรงภพลบเลิศประเสริฐโลกย์ เป็นจอมโจกจุลจักรอัครมหา
อานุภาพปราบเปรื่องกระเดื่องปรา - กฎเดชาเป็นเกษนิเวศเวียง
ก. เล่นเสียงสัมผัสสระ และพยัญชนะ ข. ความเปรียบดีเด่น
ค. เล่นคำ ง. สัมผัสสระเด่น
๓. ข้อใดใช้ภาพพจน์ที่ต่างจากข้ออื่น
ก. สูงระหงทรงเพรียวเรียวรูด งามละม้ายคล้ายอูฐกะหลาป๋า
ข. ดูผิวสินวลละอองอ่อน มะลิซ้อนดูดำไปหมดสิ้น
ค. พระปรางค์พราวภาพปั้น ปูนเขียน
ง. สร้อยทองย่องเยื้องชาย เหมือนสายสวาทนาดนวยจร
๔. บทประพันธ์ข้อใดใช้ภาพพจน์แบบบุคคลวัต
ก. สายธารดั่งนาฬิกาแก้ว แว่วแว่วจ๊อกจ๊อกเซาะซอกหิน
ข. พอสบเนตรวนิดามารศรี แรงฤดีดาลเล่ห์เสน่หา
ค. ดังตรลบโลกแล้ ฤาบ่ร่างรู้แพ้ ชนะผู้ใดดาล
ง. ทะเลไม่เคยหลับใหล ใครตอบได้ไหมไฉนจึงตื่น
๕. “หญ้าฝากเกสรดอกหญ้า ไปกับลมช่วยพาผสานผสม
แจ้งข่าวคราวเคลื่อนเยือนชม ช่วยทอพรมคลุมพื้นให้แผ่นดิน
ประเภทของภาพพจน์ข้างต้นคล้ายคลึงกับข้อใด
ก. ไผ่ซออ้อเอียดเบียดออด ลมลอดไล่เลี้ยวเรียวไผ่
ข. เปลวแดดแผดเปลวเต้น ระริกเล่นเน้นทำนอง
ค. ฤาดูดาราระย้าระยับสรวง ดุจดวงเพชรพลอยประเสริฐศรี
ง. ระเวนไพรร่อนร้องตระเวนไพร เหมือนเวรใดให้นิราศเสน่หา
๖. “พิเศษสารเสกสร้างรังสรรค์สาร ประจงจารฉันทพากย์พริ้งพรายฉาย
เฉกเพชรพรรณเพราะเฉิดเลิศแลลาย ระยับสายสะอิ้งส่องสร้อยกรองทรวง”
กลอนบทนี้ดีเด่นด้านใดเป็นพิเศษ
ก. สัมผัส ข. ฉันทลักษณ์
ค. โครงสร้าง ง. สัญลักษณ์
๗. ข้อใดไม่แสดงจินตภาพการเคลื่อนไหว
ก. อุกคลุกพลุกเงยงัด คอคช เศิกแฮ ข. บัดราชฟาดแสงพล พ่ายฟ้อน
ค. สารทรงราชรามัญ ลงล่าง แลนา ง. หน่อนเรนทรทิศ ตกด้าว
๘. ข้อใดกวีใช้กลวิธีพรรณนาต่างกับข้ออื่น
ก. อิ่มทุกข์อิ่มชลนา อิ่มโศกาหน้านองชล
ข. กระถินกลิ่นหอมกลบ เช่นน้ำอบสุดามาลย์
ค. ตัวเดียวมาพลัดคู่ เหมือนพี่อยู่ผู้เดียวดาย
ง. กระแหแหห่างชาย ดั่งสายสวาทคลาดจากสม
๙. ข้อใดไม่แสดงจินตภาพการเคลื่อนไหว
ก. อุกคลุกพลุกเงยงัด คอคช เศิกแฮ ข. บัดราชฟาดแสงพล พ่ายฟ้อน
ค. สารทรงราชรามัญ ลงล่าง แลนา ง. หน่อนเรนทรทิศ ตกด้าว
อ่านคำประพันธ์ต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามข้อ ๑๐-๑๑
(๑) เป็นกลุ่มกลุ่มกลุ้มกายเหมือนทรายซัด ต้องนั่งปัดแปะไปมิได้นอน
(๒) ครั้นยามเย็นเห็นเหมือนหนึ่งเมฆพลุ่ง เป็นควันฟุ้งราวกับไฟไกลหนักหนา
(๓) ดูเหย้าเรือนหาเหมือนอย่างไทยไม่ หลังคาใหญ่พื้นเล็กเป็นโรงผี
(๔) เราเป็นมนุษย์สุดรักต้องลักพา เหมือนอินทราตรึงส์ตรัยเป็นไรมี
๑๐. ข้อใดใช้ภาพพจน์ชนิดอุปลักษณ์
ก. ข้อ ๑ ข. ข้อ ๒
ค. ข้อ ๓ ง. ข้อ ๔
๑๑. ข้อใดไม่ใช้ภาพพจน์ชนิดอุปมา
ก. ข้อ ๑ ข. ข้อ ๒
ค. ข้อ ๓ ง. ข้อ ๔
๑๒. ถ้าเราจะพรรณนาความงามธรรมชาติยามเช้า เราจะใช้ลีลาในข้อใด
ก. เสาวรจนี ข. นารีปราโมทย์
ค. พิโรธวาทัง ง. สัลลาปังคพิสัย
๑๓. ถ้าต้องการใช้โวหารเปรียบเทียบจะใช้โวหารข้อใด
ก. บรรยายโวหาร ข. อุปมาโวหาร
ค. พรรณนาโวหาร ง. สัญลักษณ์โวหาร
๑๔. “ทุกข์ทั้งนี้ก็มิเท่าถึงทุกข์ พระแม่เจ้าจะกลับเข้ามาแต่ป่า
จะมิได้เห็นหน้าเราพี่น้อง แล้วก็จะทรงกันแสงให้ด้วย
ว่าลูกเพื่อนไร้มาจากอก จะทรงพระปริวิตกไม่วายเลย”
บทประพันธ์นี้กวีใช้ลีลาการประพันธ์ชนิดใด
ก. เสาวรจนี ข. นารีปราโมทย์
ค. พิโรธวาทัง ง. สัลลาปังคพิสัย
๑๕. ข้อใดเป็นพรรณนาโวหาร
ก. มีเจดีย์วิหารเป็นลานวัด ในจังหวัดวงแขนกำแพงกั้น
ข. กระนี้หรือชื่อเสียงเกียรติยศ จะมิหมดล่วงหน้าทันตาเห็น
ค. ขอฟุ้งเฟื่องเรื่องวิชาปัญญายง ทั้งพระสงฆ์ทรงศีลขันธ์ในสันดาน
ง. ทั้งกบเขียดเกรียดกรีดจิ้งหรีดเรื่อย พระพายเฉื่อยฉิวฉิวหวิวหวาน
๑๖. ข้อใดมีอุปมาโวหาร
ก. ถึงบางหลวงทรวงร้อนดังศรปัก
ข. พี่ร้างรักมาด้วยราชการหลวง
ค. เมื่อคิดไปใจหายเสียดายดวง
ง. จนเรือล่วงมาถึงย่านบ้านกระแซง
๑๗. ข้อใดเป็นพรรณนาโวหาร
ก. ตีเข่าปับรับโปกสองมือปิด ประจบติดเตะผางหมัดขวางหวือ
ข. ถึงพบเพื่อนที่รู้จักเคยรักใคร่ ก็เฉยไปเสียมิได้จะทักถาม
ค. ถึงเขาขาดพี่ถามถึงนามเขา ผู้ใหญ่เล่ามาให้ฟังที่กังขา
ง. จนแจ่มแจ้งแสงสายไม่วายโศก บริโภคโภชนากระยาหาร
๑๘. ข้อใดใช้โวหารแบบสัทพจน์
ก. ลิงค่างครางโครกครอก ฝูงจิ้งจอกออกเห่าหอน
ข. ชะนีวิเวกวอน นกหกร่อนนอนรังเรียง
ค. ลูกนกยกปีกป้อง อ้าปากร้องซ้องแซ่เสียง
ง. แม่นกปกปีกเคียง เลี้ยงลูกอ่อนป้อนอาหาร
๑๙. ข้อใดมีโวหารบุคคลวัต(บุคลาธิษฐาน)
ก. ชโยสยามอร่ามอะโข ข. ดรุณจะโตเติบสิกขา
ค. สยามจะอยู่มิรู้ชรา ง. กระเดื่องวิชาวิชัยชโย
๒๐. ข้อใดใช้โวหารอุปลักษณ์
ก. น้ำเงิน คือ เงินยวง ข. ขาวพรายช่วงสีสำอาง
ค. ไป่เทียบเปรียบโฉมนาง ง. งามเรืองเรื่อเนื้อสองสี
๒๑. ข้อใดใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ(สัทพจน์)
ก. คณาเนื้อนวลก็ครวญคลอขับ ข. ระริกแคนรับสลับเสียงใส
ค. กระเดื่องตำข้าวก็กราวเสียงไกล ง. สนุกน้ำใจสมัยสายันต์
๒๒. “ไอ้ยุงลายที่มันร้ายยิ่งกว่าเสือ มันกัดเนื้อปล่อยเชื้อแน่เหลือหลาย
คนถูกกัดจะเก็บไข้ไม่สบาย อาจถึงตายหรือทรมานน่ากลัวนัก”
ข้อความนี้เป็นโวหารชนิดใด
ก. บรรยายโวหาร ข. พรรณนาโวหาร
ค. อุปมาโวหาร ง. เทศนาโวหาร
๒๓. บทประพันธ์ต่อไปนี้ข้อใดมีการใช้โวหารแบบสัญลักษณ์
ก. โอ้แต่นี้อกวันทองเอ๋ย ข. ไม่ควรเลยที่จะแหลกเป็นผุยผง
ค. จะครองตัวไว้ไยให้คืนคง ง. เสมือนหงส์ปีกหักลงปลักตม
๒๔. ข้อใดใช้โวหารอติพจน์
ก. เรียมร่ำน้ำเนตรถ้วม ถึงพรม
ข. เย็นพระยศปูนเดือน เด่นฟ้า
ค. น้ำเซาะหินรินรินหลากไหล ไม่หลับเลยชั่วฟ้าดินสลาย
ง. พระพายพัดซัดมาเชยชื่น หอมระรื่นรอบในไพรระหง
๒๕. ข้อใดใช้อุปมาโวหาร(ใช้ตัวเลือกในข้อ ๒๔)
๒๖. ข้อใดใช้บุคคลวัต(บุคลาธิษฐาน) (ใช้ตัวเลือกในข้อ ๒๔)
๒๗. ข้อใดไม่ใช้โวหารแบบสัญลักษณ์
ก. เริ่มยินดีสีขาวพราวพิสุทธิ์ ข. ยิ่งโกมุทบานพ้นชลสาย
ค. แต่เนิ่นนานมือมารมากล้ำกลาย ง. ความเพริศพรายลดค่าราคาคน
๒๘. ข้อใดใช้โวหารต่างจากข้ออื่น
ก. ตัวเดียวมาพลัดคู่ เหมือนพี่อยู่ผู้เดียวดาย
ข. ไพเราะกังวาน ปานเสียงน้องร้องสั่งชาย
ค. น้ำเงินคือเงินยวง ขาวพรายช่วงสีสำอาง
ง. นาคาหน้าดั่งเป็น ดูเขม้นเห็นขบขัน
๒๙. “พระตรีโลกนาถแผ้ว เผด็จมาร
เฉกพระราชสมภาร พี่น้อง”
ข้อความนี้เป็นโวหารชนิดใด
ก. อุปลักษณ์ ข. สัทพจน์
ค. บุคคลวัต ง. อุปมา
๓๐. ข้อใดใช้ปฏิพากย์ในการนำเสนอสาร
ก. มีความมือที่เวิ้งว้างสว่างไสว
ข. เสมือนไฟไหม้ฟืนคืนลมหนาว
ค. ฝูงโนเรศแข่งขานประสานเสียง
ง. รวยรินกลิ่นรำเพย คิดพี่เคยเชยกลิ่นปราง
๓๑. เรือชัยไวว่องวิ่ง รวดเร็วจริงยิ่งอย่างลม”
ข้อความนี้เป็นโวหารชนิดใด
ก. อุปลักษณ์ ข. สัญลักษณ์
ค. อุปมา ง. บุคลาธิษฐาน
๓๒. “ดวงตะวันพริ้มพรายทักทายโลก”
ก. บุคคลวัต ข. อุปลักษณ์
ค. สัญลักษณ์ ง. อธิพจน์
๓๓. “แม้นเนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา”
บทประพันธ์นี้ใช้โวหารแบบใด
ก. บรรยาย ข. อุปมา
ค. อุปลักษณ์ ง. สัทพจน์
๓๔. ข้อใดใช้พรรณนาโวหารให้เห็นความเคลื่อนไหวที่มีพลังได้ชัดเจนที่สุด
ก. เรือครุฑยุดนาคหิ้ว ลิ่วลอยมาพาผันผอง
ข. เรือชัยไวว่องวิ่ง รวดเร็วจริงยิ่งอย่างลม
ค. เรือม้าหน้ามุ่งน้ำ แล่นเฉื่อยฉ่ำลำระหง
ง. เรื่อสิงห์วิ่งเผ่นโผน โจนตามคลื่นฝืนฝ่าฟอง
๓๕. ข้อใดไม่ใช้ภาพพจน์แบบบุคคลวัต
ก. เมฆไหลลงห่มเงื้อม ผาชะโงก ข. งามม่านเงาไม้โศก ซับซ้อน
ค. ดอกหญ้าป่าลมโบก ผวาช่อ ง. ซ่าซ่าธาราฉะอ้อน เร่งร้อนระหายฝัน
๓๖. ข้อความต่อไปนี้เป็นการใช้โวหารในลักษณะใด
งานที่ออกมาแล้วไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ถ้าจะวิเคราะห์ปัญหาออกมา ก็อาจทำให้ทราบว่าตีเหล็กผิดจังหวะ เพราะว่ายังไม่ร้อนพอหรือร้อนแล้วแต่ตีช้าไป เหล็กเย็นก่อนงานเสร็จก็เป็นบทเรียนว่าครั้งต่อไปต้องทำงานให้เร็วและดีกว่าเดิม
ก. อุปมาโวหาร ข. สาธกโวหาร
ค. เทศนาโวหาร ง. พรรณนาโวหาร
๓๗. ข้อความต่อไปนี้ใช้โวหารประเภทใด
ไม่มีใครหลีกหนีความจริงพ้น แต่คนเราก็มักจะยอมรับความจริงไม่ได้ จนหลอกตนเอง
และคนอื่นทั่วไปจนบางครั้งลืมไปว่าอะไรคือความจริง และอะไรคือเท็จ แต่ส่วนลึกในใจย่อมรู้ว่า
อะไรจริงอะไรเท็จ การดำเนินชีวิตจึงต้องเริ่มที่ใจ
ก. บรรยายโวหาร ข. พรรณนาโวหาร
ค. อธิบายโวหาร ง. เทศนาโวหาร
๓๘.ข้อใดมีการพรรณนาต่างกับข้ออื่น
ก. ลำดวนหวานหอมชื่น เหมือนรสรื่นนงราม
ข. อังกาบกุหลาบแย้ม สอดสีแซมเมื่อแย้มบาน
ค. ชงโคคิดคู่ชงฆ์ โฉมอนงค์นฤมล
ง. อินทนิลกลิ่นตระการ เช่นเกศเจ้าเคล้าเสาวคนธ์
๓๙. ข้อใดไม่ปรากฏในคำประพันธ์ต่อไปนี้
“เสื้อเก่าเก่าผ้าปะปะติดปะต่อ เห็นแล้วก่อสังเวชล้วนชวนสลด
งอร่างคู้ดุดร่างค้อมร่างคด กระเถิบกระถดยามลดหวีดกรีดผิวเนื้อ”
ก. การใช้คำซ้ำ ข. การใช้คำพ้องเสียง
ค. การเล่นสัมผัส ง. การใช้ภาพพจน์
๔๐. ข้อใดสื่อภาพและเสียงได้เด่นชัดที่สุด
ก. กูบกระโดกโยกอย่างทุกย่างเดิน เขยื้อนเยินยอบยวบยะยวบกาย
ข. เงื้อมตลิ่งงิ้วงามตระหง่านยอด ระกะกอดเกะกะกิ่งไสว
ค. ย่ามกระสอบกรอบแกรบกระไกรกริก กลักพริกพลิกแพลงตะแคงหงาย
ง. ทั้งจากที่จากคลองเป็นสองข้อ ยังจากจากกอนั้นก็ขึ้นในคลองขวาง
๔๑. ข้อใดใช้ภาพพจน์ต่างจากข้ออื่น
ก. เธอ คือ โคมทองของชีวิตพี่ นำทางไว้ให้ดีเพื่อชีวิตนี้รื่นรมย์
ข. เอาลำน้ำใสเย็นนี้หรือมาเป็นเมรุทอง เอาน้ำตกก้องเป็นกลองประโคม
ค. แม้มิได้เป็นจันทร์อันสกาว ขอเป็นดาวดวงแจ่มแอร่มตา
ง. ถึงโลกแตกแหลกเป็นผงคลี รักเต็มปรี่ไม่มีรู้คลาย
๔๒. ข้อใดไม่มีการเล่นคำ
ก. เบญจวรรณวันจากเจ้า กำสรดเศร้าแทบวายวาง
ข. นามแก้วดอกแก้วคือ แก้วเนตรพี่นี้ใช่ใคร
ค. งามทรงวงดังวาด งามมารยาทนาดกรกราย
ง. นางแย้มดุจเรียมยล น้องแย้มยิ้มพริ้มพรายงาม
๔๓. คำประพันธ์ในข้อใดกล่าวถึงเสียงและการเคลื่อนไหว
ก. ผีเสื้อแต้มสีที่กลีบแก้ม ชมพูแย้มแดงระยับสลับม่วง
ข. หางนกยูงระย้าเรี่ยคลอเคลียน้ำ แพนดอกฉ่ำช้อยช่อวรวิจิตร
ค. ฝักต้อยกิ่งแตกจังหวะประชันกัน จักจั่นจี้จ่อยรับเรื่อยร้าง
ง. ดอกไม้ป่าปรุงกลิ่นประทินป่า อบบุหงามาลัยทั่วไพรกว้าง
๔๔. ข้อใดมีภาพพจน์ชนิดอุปลักษณ์
ก. แลขี้ไคลใส่ตาบเป็นคราบคอ ผ้าห่มห่อหมากแห้งตาแบงมาน
ข. มายากเย็นเห็นแต่ผ้าแพรดำ ได้ห่มกรำอยู่กับกายไม่วายตรอม
ค. อยู่บุรินกินสำราญทั้งหวานเปรี้ยว ตั้งแต่เที่ยวยากไร้มาไพรศรี
ง. เดินกันดารปานปิ้มจะบรรลัย จึงมาได้เห็นหน้าบิดาตัว
๔๕. คำประพันธ์ต่อไปนี้ใช้ลีลาการแต่งประเภทใด
สงครามครานี้หนัก ใจเจ็บ ใจนา
เรียมเร่งแหนงหนาวเหน็บ อกโอ้
ลูกตายฤาใครเก็บ ผีฝากพระเอย
ผีจักเท้งที่โพล้ ที่เพล้ใครเผา
ก. เสาวรจนี ข. นารีปราโมทย์
ค. พิโรธวาทัง ง. สัลปังคพิไสย
๔๖. ข้อความต่อไปนี้ใช้กลวิธีการเขียนตามข้อใด
“กางเขนหนุ่มสาวพบผู้คนหลากหลายในป่าเสื่อมโทรมที่มันบินผ่านมา บ้างหาของป่า บ้างล่าสัตว์ บ้างกำลังโค่นต้นไม้ใหญ่ เลื่อยยนต์กรีดเสียงหวีดๆ ให้ทั้งอาหาร ยารักษาโรค น้ำ อากาศ และความอุดมมสมบูรณ์แก่มนุษย์ มันไม่เข้าใจเลยว่าทำไมมนุษย์ผู้มีสติปัญญากว่าสัตว์อื่นๆ จึงไม่สามารถจัดการให้คนกับป่าพึ่งพาอาศัยกันได้มากกว่านี้”
ก. บรรยาย ข. บรรยาย อธิบาย
ค. พรรณนา อธิบาย ง. พรรณนา บรรยาย
๔๗. ข้อใดใช้กลวิธีการเขียนต่างจากข้ออื่น
ก. เขาวิ่งกระเซอะกระเซิง เนื้อตัวลายพร้อยด้วยแผลเก่าใหม่ใหญ่เล็กนับไม่ถ้วน
ข. ลัดเลาะไปตามเส้นทางป่าไผ่ ผ่านคงกล้วย นกกาส่งเสียงร้องไล่จิกกัน
เพราะห่วงอาหาร
ค. มองไปข้างหน้าเห็นนกคุ่มโผขึ้นจากพงหญ้า หมูป่าสามตัววิ่งพรวดพราดสวนทางมา
ง. หันมาอีกทางเห็นดวงตาดำของกวางตัวน้อยเพ่งมองมาด้วยความพิศวง
๔๘. คำประพันธ์ต่อไปนี้มีลักษณะเด่นที่สุดตามข้อใด
“หลบหลีกไวว่องป้องกัน ผัดผ่อนหันออกกลอกกลับ
ปะทะแทงแสร้งทำสำทับ ย่างกระหยับรุกไล่มิได้ยั้ง”
ก. การแสดงภาพเคลื่อนไหว การซ้ำคำ
ข. การหลากคำ การเล่นเสียงสัมผัส
ค. การซ้อนคำ การหลากคำ
ง. การแสดงภาพเคลื่อนไหว การเล่นเสียงสัมผัส
๔๙. ข้อใดต่อไปนี้ใช้ภาพพจน์ต่างจากข้ออื่น
ก. เธอคือโคมทองของชีวิตพี่ นำส่องทางไว้ให้ดีเพื่อชีวิตนี้รื่นรมย์
ข. เอาลำน้ำใสเย็นนี่หรือมาเป็นเมรุทอง เอาน้ำตกก้องเป็นกลองประโคม
ค. แม้มิได้เป็นจันทร์อันสกาว ขอเป็นดาวดวงแจ่มแอร่มตา
ง. ถึงโลกแตกแหลกเป็นผงคลี รักเต็มปรี่ไม่รู้คลาย
๕๐. ข้อใดไม่ใช่จุดเด่นของคำประพันธ์ต่อไปนี้
อันว่าโกสุมสโรชก็โรยรายร่วงรสเรณูนวลผกาเกสร หมู่แมลงมาศภมรก็มัวเมาเอา ชาติละอองอันละเอียด เสียดแทรกไซร้สร้อยเสาวคนธ์ขจร หึ่งหึ่งบินวะวู่ว่อนร่อนร้องอยู่โดยรอบขอบจตุรสระศรี
ก. การสรรคำ ข. ภาพชัดเจน
ค. เสียงไพเราะ ง. เนื้อความลึกซึ้ง
๕๑. โคลงต่อไปนี้บาทใดใช้สัมผัสอักษรเด่นชัดที่สุด
ร้อนอากาศอาบน้ำ บรรเทา
ร้อนแดดพอแฝงเงา ร่มได้
ร้อนในอุระเรา เหลือหลีก
ร้อนอกรากหมกไหม้ หม่นเพี้ยงเพลิงรุม
ก. บาทที่ ๑ ข. บาทที่ ๒
ค. บาทที่ ๓ ง. บาทที่ ๔
๕๒. ข้อใดใช้ภาพพจน์
ก. พระโหยหวนครวญเพลงวังเวงจิต ให้คนคิดถึงถิ่นถวิลหวัง
ข. ว่าจากเรือนเหมือนนกมาจากรัง อยู่ข้างหลังก็จะแลชะแง้คอย
ค. ถึงยามค่ำย่ำฆ้องจะร้องไห้ ร่ำพิไรรัญจวนหวนละห้อย
ง. โอ้ยามดึกดาวเคลื่อนเดือนก็คล้อย น้ำค้างย้อยเย็นฉ่ำที่อัมพร
๕๓. ข้อใดไม่ใช้ภาพพจน์ชนิดบุคคลวัต
ก. เมฆไหลลงห่มเงื้อม ผาชะโงก
ข. งานม่านเงาไม้โศก ซับซ้อน
ค. ดอกหญ้าป่าลมโบก ผงกช่อ
ง. ซ่าซ่าธาราฉะอ้อน เร่งร้อนระหายฝัน
๕๔. ข้อใดสื่อจินตภาพต่างกับข้ออื่น
ก. เสนาะเสียงสังคีตประณีตฉ่ำ ข. ทั้งทุ่มต่ำร่ำเรื่อยจะเจื้อยแจ้ว
ค. วะแว่วเพียงเสียงพ้อซอสายเอก ง. ประกายพรึกกะพริบพลิ้วพ้นทิวไม้
๕๕. คำประพันธ์ต่อไปนี้ใช้โวหารแบบใด
ณ ร่มไม้สาละพนาสัณฑ์ นามลุมพินีวันมหาสถาน
พระนางเริ่มเจ็บครรภ์มิทันนาน ประสูติกาลพระโอรสแสนงดงาม
วิสาขะวันเพ็ญเพลาเลิศ พระกุมารผู้ประเสริฐแห่งโลกสาม
บัวบูชารองพระบาทยาตราตาม บุญญายามจิตพร้อมน้อมประณต
ก. บรรยายโวหาร ข. พรรณนาโวหาร
ค. เทศนาโวหาร ง. สาธกโวหาร
๕๖. ข้อใดบรรยายให้เห็นภาพพจน์มากที่สุด
ก. ดุเหว่าร้องซ้องเสียงสำเนียงแจ้ว ให้แว่วแว่วว่าวันทองร้องเรียกหา
สะดุ้งใจไหววับทั้งหลับตา ร้องขานขาสุดเสียงแต่เทียงคืน
ข. นางครวญคร่ำร่ำว่าน้ำตาตก เหมือนหนึ่งอกพุพองเป็นหนองฝี
แม้อิ่มท้องครองเลี้ยงถึงเพียงนี้ ได้สิบปีเศษแล้วจะแคล้วกัน
ค. เห็นไก่เตี้ยเขี่ยคุ้ยที่ขุยไผ่ กระโชกไล่ลดเลี้ยวมันเปรียวปรื๋อ
พบนกยุงฝูงใหญ่ไล่กระพือ มันบินหวือโห่ร้องคะนองใจ
ง. แล้วพวกมอญซ้อนซอเสียงอ้อแอ้ ร้องทะแยย่องกะเหนาะย่ายเตาะเหย
โอระหน่ายพลายงามพ่อทรามเชย ขวัญเอ๋ยกกกะเนียงเกรียงเกลิง