วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560

แบบทดสอบเรื่อง คำไทยแท้ และคำยืมภาษาบาลี สันสกฤต เขมร

เรื่อง คำไทยแท้ และคำยืมภาษาบาลี สันสกฤต เขมร


๑. ข้อใดคือตัวอย่างที่ถูกต้องกับคำกล่าวที่ว่าคำไทยแท้จะสะกดตรงมาตรา
ก.  ร้อน  สุข  พร
ข. ร่ม  ท่าน  สูง
ค. กลอน  ยศ  ลาภ
ง. วอน  มะม่วง  บาท
๒. ข้อใดที่เป็นคำไทยแท้ เกิดจากการกร่อนเสียง
ก.  อุทาน  กังวาน  ตะขบ
ข. แหม  มะตูม  เพราะ
ค. สะเอว  มะม่วง  ตะวัน
ง. เจริญ  สะดือ  โสน
๓. ข้อใดเป็นคำไทยแท้ที่ใช้วรรณยุกต์แยกความหมาย
ก. มือ  โดน  จมูก
ข. เขา  โดด  ตึก
ค. ขา  ข่า  ข้า
ง. ตา  มอง  นก
๔. ข้อใดที่คำทุกคำมีพยัญชนะที่ไม่ปรากฏในคำไทยแท้ประสมอยู่
ก. เศียร  จุฬา  มณฑา
ข. ลิง  รัว  ระฆัง
ค. สาว  ชม  จันทร์
ง. นาง  นวย  นาฏ
๕. ข้อใดเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีทุกคำ
ก. กรีฑา   อาชา   จิต
ข. วิชา  กษัตริย์  บุญ
ค. ปัญญา  ศีรษะ  รัชกาล
ง. จุฬา  มัจฉา  พุทธ

๖. ข้อใด สอดคล้องกับคำที่ว่า  ภาษาบาลีมีตัวสะกด ตัวตาม   ตามหลักแน่นอน
ก. รัฐ   ศฤงคาร  จักร
ข. นิสัย  ขณะ  ธรรม
ค. อัคคี  พยัคฆ์  มัชฌิม
ง. สัมมนา  อาชญา  คัมภีร์
๗. ข้อใดมีคำที่มาจากภาษาบาลีแทรกอยู่น้อยที่สุด
ก. ทิฐิ    มัศยา   สัญญา
ข. ทุกข์  อารมณ์   ฤดู
ค. อัฐิ  ฤกษ์  ยุติ
ง. อิสระ  พราหมณ์   วุฒิ
๘. ข้อใดที่คำสันสกฤตทุกคำ
ก. เศรษฐี  เณร   อภิรมย์
ข. เกศ  ฤษี   กรรม
ค. พล  เกณฑ์  นพ
ง. สวรรค์  วัฒน์  มณโฑ
๙. ข้อใดสอดคล้องกับ พยัญชนะแถวที่ ๑ สะกด  ตามด้วยพยัญชนะแถวที่   ๑ หรือ  ๒
ก. อุกกาบาต  อัฏฐ    ปุจฉา
ข. ปรัศจิม  ปัจฉิม  อัฒจันทร์
ค. ยุค   ปักษา  เสน่หา
ง. ขัตติยา  ปรัชญา  สิกขา
๑๐. ข้อใดเป็นภาษาสันสกฤตทุกคำ
ก. พฤกษ์  ราษฎร   บวร
ข. ไมตรี  พิมพ์   นรินทร์
ค. ไกรลาส    ครรภ์    ครุฑ
ง. วิชา     สันติ    ฤกษ์ 

๑๑. ข้อใดเป็นลักษณะสำคัญของภาษาไทย
ก. มีภาษาบาลีสันสกฤตปนอยู่มาก
ข. รู้หน้าที่ของคำเมื่อเข้าประโยคแล้ว
ค. ระดับเสียงสูงต่ำทำให้ความหมายเปลี่ยนไป
ง. ข้อ  ข  และ ค
๑๒. ข้อใด ไม่ใช่  ลักษณะของภาษาไทย
ก. มีเสียงวรรณยุกต์
ข. ใช้ตัวสะกดตรงตามมาตรา
ค.  ไม่นิยมใช้พยัญชนะควบกล้ำ
ง. มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำก่อนใช้
๑๓. ภาษาไทยมีลักษณะคล้ายภาษาใดมากที่สุด
ก. จีน
ข. มอญ
ค. เขมร
ง. บาลีและสันสกฤต
๑๔. ข้อใดไม่ใช่คำไทยแท้ทุกคำ
ก. ยังอยู่ตราบจนทุกวันนี้
ข. รูปหล่อนั้นนั่งพับเพียบ
ค. เนื้อสลับซับซ้อนหลายชั้น
ง.ภายหลังท่านคิดถึงบ้านเดิม
๑๕. นก  เป็นคำไทยแท้ เพราะอะไรเด่นชัดที่สุ
ก. เป็นคำพยางค์เดียว
ข. มีหลายความหมาย
ค. ทำหน้าที่ได้หลายอย่าง
ง. ใช้ตัวสะกดตรงตามมาตรา
๑๖.  ข้อใดไม่ใช่คำไทยแท้ทุกคำ
ก. ลงเล่นน้ำกับเด็กวัด
ข. ช้างเผือกเข้ามาในวัด
ค. สมภารเห็นก็ประหลาดใจ
ง. อ่านเขียนได้เสียก่อนเรียน

๑๗. คำไทยพยางค์เดียวส่วนมากได้แก่คำจำพวกใด
ก. คำราชาศัพท์
ข. คำบอกจำนวนนับ
ค. คำเรียกชื่อทางภูมิศาสตร์
ง. ข้อ ข และ ค
๑๘. ข้อใดมีคำไทยแท้ทุกคำ
ก. นั่งทำพุทธบูชาเวลาไหว้พระ
ข. สมเด็จเจ้าแตงโมเดิมชื่อทอง
ค. วัดอยู่ในตำบลชาติภูมิของท่าน
ง.เลยทักเอาว่ามาแต่วัดหนองหว้า
๑๙. คำในข้อใดเป็นคำไทยแท้ทุกคำ
ก. น้ำปลา  เลือกตั้ง  รถจี๊ป
ข. เลขท้าย  ห่อหมก  เด็กปั๊ม
ค. หมอฟัน  เตาถ่าน  กันสาด
ง. ผลไม้  ลายเซ็น  ร้านกาแฟ
๒๐. ข้อใดมีคำภาษาต่างประเทศปนอยู่
ก. พ่อ  แม่  ปู่  ย่า
ข. ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ
ค. กิน  นอน  นั่ง  เดิน
ง. เขียว  ดำ  แดง  เหลือง
๒๑. ประโยคใดมีลักษณะเป็นภาษาไทยมากที่สุด
ก. นพพรโดยสารรถประจำทางไปโรงเรียน
ข. มันเป็นเรื่องยากที่สุดที่โสภีและโสภาจะคืนดีกัน
ค. มิใช่เป็นการง่ายนักหรอกที่จะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ
ง. โรงเรียนรัฐบาลอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ 

๒๒. ข้อใดใช้สำนวนภาษาต่างประเทศ
ก. เรามีอุปกรณ์อย่างดีที่จะป้องกันไฟไหม้
ข. รถยนต์ยี่ห้อเกวียนทองเป็นรถยนต์ที่มีกำลังสูง
ค. ใครซื้อสินค้าร้านนี้แล้วได้รับของแจกถูกใจทุกคน
ง. ในความคิดเห็นของข้าพเจ้า ฝ่ายหญิงไม่ได้รับความยุติธรรมเลย
๒๓. ข้อใด  ไม่ใช่  สำนวนต่างประเทศ
ก. เขาถูกจับไปเรียกค่าไถ่
ข. เขาเดินเข้ามาในห้องพร้อมกับหนังสือหอบใหญ่
ค. เธอพบว่าตัวเองกำลังร้องไห้อยู่คนเดียวในห้อง
ง.เราควรรักษาไว้ซึ่งเกียรติยศและความรับผิดชอบ
๒๔. ข้อใดเป็นลักษณะของภาษาเขมร
ก.      มีคำพ้องรูป
ข.      มีลักษณนาม
ค.      มีคำควบกล้ำมาก
ง.       มีคำพ้องเสียง
๒๕. ภาษาเขมรเข้ามาปนอยู่ในภาษาไทยเพราะเหตุใด
ก.      การค้าขาย
ข.      การสงคราม
ค.      การปกครอง
ง.       ศาสนาพุทธ
๒๖. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของภาษาเขมร
ก.      นิยมใช้คำควบกล้ำ
ข.      มักมีคำ บัง บัน หรือ บำ อยู่หน้า
ค.      คำที่มีตัวสะกดเป็น  จ  ร  ล  ญ
ง.       คำแผลงที่ขึ้นต้นด้วย กระ  ประ บรร  หรือ อำ
๒๗. คำในข้อใดเป็นภาษาเขมร
ก.      กระบือ
ข.      กระตัง
ค.      กระดาษ
ง.       กระโดด
๒๘. คำในข้อใดเป็นภาษาเขมร
ก.      สุข
ข.      ภิกขุ
ค.      สุนัข
ง.       เขนย
๒๙. คำในข้อใดเป็นภาษาเขมร
ก.      จมูก
ข.      จิตรา
ค.      จรรยา
ง.       จรรโลง
๓๐. คำในข้อใดเป็นภาษาเขมร
ก.      บัญชี
ข.      บัญชร
ค.      บัลลังก์
ง.       บันดาล
๓๑. คำในข้อใดมาจากภาษาเขมร
ก.      ปัญหา
ข.      ปัญญา
ค.      บัญญัติ
ง.       บำเพ็ญ
๓๒. คำในข้อใดมาจากภาษาเขมร
ก.      ขจาย
ข.      อาจารย์
ค.      อภิปราย
ง.       รุกขชาติ
๓๓. คำในข้อใดมาจากภาษาเขมร
ก.      พจน์
ข.      เสด็จ
ค.      อิจฉา
ง.       อเนจอนาถ
๓๔. คำในข้อใดเป็นภาษาเขมร
ก.      โตมร
ข.      โตนด
ค.      ไตรยางค์
ง.       ตุนาหงัน
๓๕. คำในข้อใดไม่ใช่คำมาจากภาษาเขมร
ก.      บังคม
ข.      บังโคน    
ค.      บันลือ
ง.       บำเหน็จ
๓๖. ในข้อใดเป็นคำมาจากภาษาเขมรทุกคำ
ก.      ถวิล  เจริญ
ข.      ตำบล  บาดาล
ค.      ชำนาญ  อรัญ
ง.       สำราญ  บงกช
๓๗. ข้อใดเป็นคำมาจากภาษาเขมรทุกคำ
ก.      อวย  สวย
ข.      สราญ  สุวรรณ
ค.      กระจาย  กระทะ
ง.       บังเกิด  บังเหียน
๓๘. ข้อใดเป็นคำมาจากภาษาเขมรทุกคำ
ก.      กำจร  กาฬ
ข.      เชิญ  สามัญ
ค.      สมเด็จ  อิจฉา
ง.       บังคับ  เผชิญ
๓๙. ข้อใดเป็นคำมาจากภาษาเขมรทุกคำ
ก.      ประจุ  วัตถุ
ข.      ขจัด  ขัณฑ์
ค.      บรรจุ  พัสดุ
ง.       บำบัด  สำราญ
๔๐. ข้อใดเป็นคำมาจากภาษาเขมรทุกคำ
ก.      ขนง  ขันธ์
ข.      อาจ  มัจฉา
ค.      อาจ  สัจจะ
ง.       บรรจุ  บรรทุก
๔๑. ข้อใดเป็นคำมาจากภาษาเขมรทุกคำ
ก.      เสร็จ  สัตย์
ข.      ผสม  มัธยม
ค.      สราญ  สมัคร
ง.       ประสม  ประทุก
๔๒.ข้อใดเป็นคำมาจากภาษาเขมรทุกคำ
ก.      ถกล   บังเกิด  แข  เจริญ
ข.      กระดาษ  เผด็จ  บำบวง สลา
ค.      ขมา  ลออ  เสวย  ครวญ
ง.       หาญ  ผลึก  ตำบล  มงคล
๔๓. ข้อใดเป็นภาษาเขมรทุกคำ
                ก.  เพ็ญ   ตำบล    ขจร
                ข. หาญ   อุบล    จาร
                ค. กาญ    ทูล    อร
                ง.  ชาญ    นวล   กุญชร
๔๔. เหตุที่ไทยรับเอาภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตเข้ามาในไทยคือข้อใด
                ก. รับอิทธิพลการปกครอง
                ข. ไทยจำเป็นต้องรู้อักขรวิธีของภาษาทั้งสองเพื่อเทียบเคียงความแตกต่าง
                ค. ไทยรับคำบาลีสันสกฤตเข้ามาใช้เพราะเหตุผลทางศาสนา
                ง. ในหลักศิลาจารึกมีทั้งภาษาบาลีสันสกฤตอยู่ด้วย
๔๕. ถึงยากจนอย่างไรก็ไม่ว่า 
แต่พร้าขัดหลังมาก็ยกให้
อุตสาห์ทำมาหากินไป
รู้ทำรู้ได้ด้วยง่ายดาย
จากคำประพันธ์ข้างต้น มีคำที่ไม่ใช่คำไทยแท้กี่คำ
                ก. ๑   คำ                ข.  ๒ คำ
                ค. ๓  คำ                 ง.  ๔ คำ
๔๖. ข้อใดเป็นคำไทยแท้ทั้งหมด
                ก. สะใภ้  มะพร้าว  ตะวัน
                ข. ชอุ่ม  ลูกกระดุม  ตาปู
                ค. ใยบัว  เวไนย  ลำไย
                ง. ชัย  ขี้ไต้  มะม่วง
๔๗. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะคำไทยแท้
                ก. เป็นคำพยางค์เดียวเท่านั้น
                ข. ใช้ตัวสะกดตรงตามมาตรา
                ค. มีการใช้ลักษณะนาม
                ง. มีการใช้วรรณยุกต์
๔๘. ข้อใดไม่ใช่คำไทยแท้ทุกคำ
                ก. ตีตนไปก่อนไข้    ข. งอมพระราม
                ค. วัวหายแล้วล้อมคอก   ง. ใจอีกา
๔๙. ข้อใดเป็นคำไทยแท้ทุกคำ
                ก. คบบัณฑิต  บัณฑิตพาไปหาผล
                ข. กระต่ายหมายจันทร์
                ค. ศรศิลป์ไม่กินกัน
                ง. กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้
๕๐. ข้อใดเป็นคำไทยแท้ทุกคำ
                ก. เมตตาธรรมเป็นเครื่องคำจุนโลก
                ข. ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
                ค. ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ
                ง. คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร

๕๑. โอ้ว่าน่าเศร้าใจ จะเมิลไหนก็มืดมัว จากข้อความดังกล่าวมีคำที่มาจากภาษาอื่นกี่คำ
                ก.  ๑   คำ          ข.    ๒    คำ
                ค.  ๓  คำ           ง.    ๔    คำ
๕๒. ข้อใดเป็นคำไทยแท้ทั้งหมด
                ก. แผงลอย  นานา  รถไฟ  ทะเลาะ
                ข. เรือนจำ  ชื่นชม  แปรปรวน  ยองใย
                ค. หลักการ  อนาถ  กระบือ  ไขว่คว้า
                ง. โก้เก๋  บายศรี  เฒ่าแก่  กรวดน้ำ
๕๓. ข้อใดแตกต่างจากข้ออื่น
                ก. เซ้ง  แซยิด  ก๋วยเตี๋ยว
                ข. ก๊าซ  ปิกนิก  ทัวร์
                ค. เผชิญ  เจริญ  ตริ
                ง. นฤมล  เจ๊ง  โปรแกรม
๕๔. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของภาษาบาลี
                ก. มีพยัญชนะ  ๓๒  ตัว
                ข. มีหลักการใช้ตัวสะกดแน่นอน
                ค. นิยมใช้คำควบกล้ำ
                ง. มีสระน้อยกว่าภาษาสันสกฤต ๖ ตัว
๕๕.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของภาษาสันสกฤต
                ก. ใช้  ฤ  ฤา
                ข. มีหลักการใช้ตัวสะกดแน่นอน
                ค. นิยมใช้คำควบกล้ำ
                ง. ใช้  ฤ  เมื่อ บาลีใช้  อะ  อิ  อุ
๕๖. ข้อใดเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีทั้งหมด
                ก. อัจฉรา   ศฤงคาร  นิพพาน
                ข. สงฆ์  ไปรษณีย์  เกษตร
                ค. พัสดุ  นาฬิกา  วิริยะ 
                ง.  เขต  สักกะ  พุทธ 

๕๗. ข้อใดเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีทั้งหมด
                ก. อัศจรรย์  กฤษณะ  ยุทธ
                ข. อัคคี   พยัคฆ์   ภิกขุ
                ค. สตรี  ราษฎร์  มนุษย์
                ง. ภัสดา  วัตถุ  รุกข์
๕๘. ข้อใดเป็นภาษาสันสกฤตทั้งหมด
ก. อัศจรรย์  กฤษณะ  ยุทธ
                ข. อัคคี   พยัคฆ์   ภิกขุ
                ค. สตรี  ราษฎร์  มนุษย์
                ง. ภัสดา  วัตถุ  รุกข์
๕๙.  ข้อใดมีภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตซึ่งมีความหมายเดิมเหมือนกันอยู่ ๒ คู่
                ก. อัศจรรย์  อาชญา  กัณหา  พิสดาร  อักษร
                ข. อัคคี  รัฐ  ปรัชญา  อัคนี  ครุฬ
                ค. วิชา  ศิลปะ  วิทยา  ครุฑ  กรีฑา
                ง. บุปผา  ปรัชญา บุษบา ปัญญา ภริยา
๖๐. ข้อใดเป็นภาษาบาลีทั้งหมด
                ก. สัมปทาน  จุฑา  สตรี  ศาสตร์
                ข. สัมผัส  มณฑป  กษัตริย์  ไปรษณีย์
                ค. นิสิต  กิจ  วิชา  จุฬา  สมภาร
                ง. สงฆ์  พุทธ  ไอศวรรย์  พฤกษ์  จันทร์
๖๑.  ข้อใดมีคำบาลี ๒ คำ คำสันสกฤต ๓  คำ
ก. สัมปทาน  จุฑา  สตรี  ศาสตร์
                ข. สัมผัส  มณฑป  กษัตริย์  ไปรษณีย์
                ค. นิสิต  กิจ  วิชา  จุฬา  สมภาร
                ง. สงฆ์  พุทธ  ไอศวรรย์  พฤกษ์  จันทร์
๖๒. ข้อใดแตกต่างจากข้ออื่น
                ก. บำเพ็ญ
                ข. อาทิตย์
                ค. ศิลปากร
                ง. ธรรมศาสตร์
๖๓. ข้อใดไม่ใช่ภาษาเขมร
                ก. แข
                ข. จมูก
                ค. ลักษณะ
                ง. โตนด
๖๔. ข้อใดเป็นภาษาบาลี ๑ คำ ภาษาสันสกฤต ๑ คำ ภาษาเขมร ๒ คำ
                ก. ขณะ กีฬา ศาสดา  ปรัชญา
                ข. บังอร  จักษุ กันยา  กฤษณา
                ค. บังคับ บังคม ตลบ กระบือ
                ง. กิตติ สถาปนา ไพร บรรจุ
๖๕ ข้อใดเป็นภาษาเขมรล้วน
ก. ขณะ กีฬา ศาสดา  ปรัชญา
                ข. บังอร  จักษุ กันยา  กฤษณา
                ค. บังคับ บังคม ตลบ กระบือ
                ง. กิตติ สถาปนา ไพร บรรจุ
๖๖. ข้อใดเป็นหลักสังเกตคำไทยที่มาจากภาษาเขมร
                ก. มักใช้เป็นคำราชศัพท์
                ข. ไม่ใช้รูปวรรณยุกต์
                ค. มักขึ้นต้นด้วย สระอำ  เช่น คำ  จำ ชำ ตำ ดำ เป็นต้น
                ง. ถูกทุกข้อ
๖๗. คำว่ามาตราแม่ ก  กา มีความหมายตรงกับข้อใด
                ก. วิธีประสมอักษรในแม่ กบ และกด
                ข. วิธีประสมอักษรที่ไม่มีตัวสะกด
                ค. วิธีประสมคำในแม่ ก กา เช่น กก

                ง. วิธีประสมอักษรในแม่ กก  กบ  กด  กง  กน  กม  เกย  เกอว

13 ความคิดเห็น:

  1. คุณครูคะ มีคำเฉลยไหมคะ

    ตอบลบ
  2. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  3. ขอเฉลย อธิบายด้วยครับ

    ตอบลบ
  4. คุณครูคะมันจะดีมากเลยนะคะถ้ามีเฉลยด้วย

    ตอบลบ
  5. ถ้ามีเฉลยจะดีมากค่ะ ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

    ตอบลบ