วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556
แบบทดสอบ เรื่อง ศัพท์บัญญัติ
1.คำที่เกี่ยวข้องกับอาหารการกิน มักจะยืมมาจากภาษาใด
ก.ภาษาจีน
ข.ภาษาเขมร
ค.ภาษาอังกฤษ
ง.ภาษาชวา-มลายู
2.คำว่า “เมตตา วิญญาณ” ยืมมาจากภาษาใด
ก.เขมร ข.บาลี
ค.ชวา ง.สันสกฤต
3.คำในข้อใดยืมมาจากภาษาสันสกฤตทุกคำ
ก.กีฬา บรรทัด พรรณนา
ข.กรีฑา อัชฌาสัย สมุทร
ค.ศิษย์ พฤกษา เคราะห์
ง.พาณิชย์ มัธยมศึกษา ปราชญ์
4.คำในข้อใดเป็นคำภาษาเขมร
ก.เพลิง
ข.เพชร
ค.มรกต
ง.บูรณะ
5.ข้อใดเป็นลักษณะของคำภาษาจีนที่ใช้ในภาษาไทย
ก.ส่วนใหญ่เป็นเสียงสามัญ
ข.ไม่มีตัวสะกดแต่นิยมผสมด้วยสระเสียงยาว
ค.พยัญชนะต้นเป็นอักษรกลางมากกว่าอักษรอื่น
ง.ส่วนใหญ่เป็นคำพยางค์เดียว ไทยนำมาสร้างคำใหม่เป็นคำประสม
6.คำภาษาชวาเข้ามาในภาษาไทยพร้อมกับวรรณคดีเรื่องใด
ก.รามเกียรติ์
ข. ระเด่นลันได
ค.ลิลิตเพชรมงกุฎ
ง.ดาหลังและอิเหนา
13.ข้อใดเป็นศัพท์บัญญัติทางคณิตศาสตร์
ก.รหัสแท่ง ทวิเสถียร
ข.อนุกรม การแปลงผัน
ค.สัมปทาน ค่าผ่านทาง
ง.การแฝงนัย การผูกขาด
14.ข้อใดเป็นศัพท์บัญญัติทางวรรณคดี
ก.รัฐกันชน
ข.การเสียดสี
ค.เสียงเสียดแทรก
ง.ความสูงคลื่นเสียง
7.ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของภาษาชวา-มลายู
ก.เป็นคำโดด
ข.ใช้รูปวรรณยุกต์เอก โท
ค.ไม่มีเสียงพยัญชนะควบกล้ำ
ง.เป็นคำที่แสดงถึงวัฒนธรรมประเพณี
8.คำยืมที่มาจากภาษาอังกฤษเริ่มเข้ามาในสมัยใด
ก.รัชกาลที่ 1 ข.รัชกาลที่ 2
ค.รัชกาลที่ 3-4 ง.รัชกาลที่ 4-6
9.คำทับศัพท์มีลักษณะอย่างไร
ก.ยืมมาปรับเปลี่ยนความหมาย
ข. ยืมมาใช้โดยไม่มีการปรับปรุงแก้ไข
ค. ยืมมาปรับเปลี่ยนโครงสร้างของคำ
ง. ยืมมาปรับเปลี่ยนวิธีการออกเสียง
10.ศัพท์บัญญัติคิดขึ้นมาใช้แทนคำศัพท์ในภาษาใด
ก.ภาษาอังกฤษ
ข. ภาษาบาลี-สันสกฤต
ค. ภาษาชวา-มลายู
ง. ภาษาจีนและอังกฤษ
11. ศัพท์บัญญัติใช้คำในภาษาใดมาประกอบขึ้นเป็นคำใหม่
ก.ภาษาอังกฤษ
ข. ภาษาบาลีสันสกฤต
ค. ภาษาชวา-มลายู
ง. ภาษาจีนและอังกฤษ
12.คำในข้อใดเป็นศัพท์บัญญัติ
ก.โบนัส
ข.ไดโนเสาร์
ค.วัฒนธรรม
ง. กรรมการ
15.ข้อใดไม่ใช่คำศัพท์ในวงวิชาชีพธุรกิจการขาย
ก. คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก
ข.เบรกอีเวน เยียร์ลีรีวิว
ค. ควอเตอร์ โปรเจ็กเซล
ง. ซัพพลายเออร์ ออร์เดอร์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น