วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คำประสม

ใบความรู้เรื่อง
คำประสม
คำประสม  หมายถึงคำที่เกิดจากการนำคำหรือหนว่ยคำที่มีความหมายต่างกันอย่างน้อย    หน่วยขึ้นไปมารวมกัน  เกิดเป็นคำใหม่คำหนึ่ง  มีความหมายเฉพาะตามที่กำหนด
. หลักการสังเกตคำประสม

ให้นักเรียนพิจารณาคำที่ขีดเส้นใต้ในประโยคต่อไปนี้

ก.      วีนาไปตัดเสื้อตัวใหม่มา
ข.      วีนาตัดเสื้อของมานีขาด
ค.      เพลงพื้นบ้านเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ควรอนุรักษ์ไว้
ง.      น้องถูพื้นบ้านจนสะอาด
คำ  ตัดเสื้อ  ในข้อ และคำพื้นบ้าน ในข้อ   เป็นคำประสม  เพราะคำเหล่านี้เมื่อรวมกันเข้าแล้ว
เกิดเป็นคำใหม่ที่มีความหมายเฉพาะ  ดังนี้
          ตัดเสื้อ   หมายถึง  ตัดผ้าให้สำเร็จเป็นเสื้อ
          พื้นบ้าน หมายถึง  ของเฉพาะถิ่น  เช่นของพื้นบ้าน  นิทานพื้นบ้าน
          ส่วนคำ  ตัดเสื้อ ในข้อ และคำ พื้นบ้าน ในข้อ   ไม่ใช่คำประสม  เพราะคำเหล่านี้ไม่ได้เกิดเป็นคำใหม่ที่มีความหมายเฉพาะ   แต่มีความหมายตรงตามรูปคำ มีโครงสร้างเป็นวลี (กลุ่มคำ)  สามารถสับคำหรือย้ายตำแหน่งคำได้  หรือแทรกคำอื่นได้ โดยมีความหมายเหมือนเดิม  เช่น
          วีนาตัดเสื้อของมานีขาด                       เสื้อของมานีถูกวีนาตัดขาด
น้องถูพื้นบ้านจนสะอาด                      น้องถูพื้นของบ้านจนสะอาด    
คำประสมอาจพิจารณาได้โดยใช้หลักดังต่อไปนี้
. คำประสมจะมีความหมายใหม่เป็นความหมายเดียว  มีเค้าความหมายของคำหรือหน่วยคำที
รวมกันนั้น  เช่น
                   ผ้าขี้ริ้ว  เป็นคำประสม  มีความหมายเป็นคำเดียวว่า  ผ้าเก่า ขาดที่ใช้ขัดถูพื้นเป็นความหมายใหม่ที่มีเค้าความหมายเดิม คือ ผ้า  และไม่สวยไม่งาม  เช่น
Ø    แจ๋วไปเอาผ้าขี้ริ้วมาเช็ดพื้นหน่อย
Ø    ผลงานของเธอยังกับผ้าขี้ริ้ว
                   ผ้าขี้ริ้ว   เป็นคำประสมอีกคำหนึ่ง มีความหมายว่า  กระเพาะของสัตว์จำพวก วัว ควาย มีลักษณะกะรุ่งกะริ่งเหมือนผ้าขี้ริ้ว  เช่น
Ø    นงนุชชอบรับประทานยำผ้าขี้ริ้ว
. คำประสมจะแรกคำใด   ลงระหว่างคำหรือหน่วยคำที่มารวมกันนั้นไม่ได้  เช่น
ลูกช้างเดินตามแม่            แปลว่า  ลูกของแม่ช้าง   สามารถแทรกคำว่า  ของระหว่าง ลูกกับช้างได้ใน
ประโยคนี้จึงไม่ใช่คำประสม

เจ้าแม่ช่วยลูกช้างด้วย       ลูกช้าง ในประโยคนี้หมายถึง  คำแทนชื่อซึ่งพูดกับเจ้าที่เป็นผี  แทนคำว่า
ข้าพเจ้า  ไม่สามารถแทรกคำใด ลงไประหว่าง  ลูก กับ ช้าง ได้  ลูกช้าง
ในประโยคนี้จึงเป็นคำประสม
. คำประสมจะออกเสียงต่อเนื่องกันไปโดยไม่หยุดหรือเว้นจังหวะระหว่างคำ  เช่น
ดินเหนียว                  ถ้าออกเสียงต่อเนื่องกันไป   หมายถึง  ดินชนิดหนึ่งมีเนื้อเหนียว  เป็นคำประสม   ถ้ามีช่วงเว้นจังหวะระหว่าง   ดิน  กับเหนียว  หมายถึง  ดินมีสภาพเหนียว  เป็นประโยค
กาแฟเย็น                  ถ้าออกเสียงต่อเนื่องกันไป  หมายถึง  กาแฟใส่นมใส่น้ำแข็ง   เป็นคำประสม  ถ้ามีช่วงเว้นจังหวะ  ระหว่าง  กาแฟ   กับ  เย็น   หมายถึง  กาแฟร้อนที่ทิ้งไว้จนเย็น  เป็นประโยค
. โครงสร้างของคำประสม
          หน่วยคำที่มารวมกันเป็นคำประสมอาจจะเป็นคำชนิดใด ใน   ชนิด  คือคำนาม   คำกริยา  คำลักษณนาม  คำจำนวนนับ  คำลำดับที่  คำบอกเวลา  คำบุพบท   ฯลฯ   เมื่อนำคำชนิดนั้น   มาเรียงกันแล้ว   ส่วนใหญ่จะได้คำประสมที่เป็นคำนามหรือคำกริยา

ก.       คำประสมที่เป็นนาม

. นาม + นาม
     ดอกฟ้า           หญิงที่สูงศักดิ์
     ตีนกา             รอยย่นบนใบหน้าบริเวณหางตา
     บัตรโทรศัพท์    บัตรที่มีมูลค่าใช้สอดในเครื่องโทรศัพท์บางประเภทเมื่อต้องการโทรศัพท์
. นาม + นาม + นาม
     เด็กหลอกแก้ว    เด็กที่เกิดจากการผสมไข่และเชื้ออสุจิในหลอดทดลอง
     รถไฟฟ้า          รถไฟที่แล่นบนรางยกระดับ
     ปากนกกระจอก  แผลเปื่อยที่มุมปาก  เกิดจากขาดวิตามิน บี
. นาม + กริยา
     มือถือ             โทรศัพท์ที่ถือติดตัวไปได้  โทรศัพท์เคลื่อนที่
     หมูหัน           ลูกหมูย่างทั้งตัว
. นาม + กริยา + นาม
     คนเดินโต๊ะ       พนักงานที่เสิร์ฟอาหารในร้านอาหาร
     บัตรเติมเงิน      บัตรโทรศัพท์ที่ใช้กับโทรศัพท์มือถือ เพื่อใช้ชำระค่าใช้โทรศัพท์ล่วงหน้า
ภาย ในเวลาที่กำหนด
                   แปรงสีฟัน       แปรงที่ใช้สำหรับทำความสะอาดฟัน
                   . นาม + กริยา + กริยา
                   ผงซักฟอก        สารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง  ใช้ประโยชน์ในการซักฟอก
                   บ้านจัดสรร       บ้านซึ่งรัฐหรือเอกชนสร้างขายเงินผ่อน
                   ใบขับขี่           ใบอนุญาตให้ขับขี่ยานพาหนะ
                     . นาม + ลักษณนาม
                   ทองแท่ง          ลักษณะของทองที่ยังไม่ได้แปรรูปเป็นทองรูปพรรณ
                   เงินบาท          สกุลเงินของไทยมีหน่วยเป็นบาท
                   สวนหย่อม       สวนไม้ประดับที่มีขนาดเล็ก
                     . นาม + บุพบท + นาม
                   รถใต้ดิน          รถไฟที่แล่นอยู่ใต้ดิน
                   คนหลังเขา       คนที่ไม่ทันความเจริญของโลก
                   บัวใต้น้ำ คนที่สั่งสอนได้ยาก  คนโง่
                      . กริยา + กริยา
                   จับสั่น            ชื่อไข้ชนิดหนึ่งที่มียุงก้นปล่องเป็นพาหะมีเชื่อมาลาเรีย      
                   กันสาด           เพิงที่ต่อชายคาสำหรับกันฝนไม่ให้สาด
                   ห่อหมก          ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง
                      . กริยา + นาม
                   เท้าแขน          ส่วนของเก้าอี้สำหรับวางแขน
                   รองพื้น           เครื่องสำอางประเภทหนึ่งใช้ทาผิวหนังก่อนผัดแป้ง
                   บังตา             เครื่องบังประตูทำด้วยไม้หรือกระจกความสูงเหนือระดับสายตา
                   ๑๐. บุพบท + นาม
                   ในหลวง          พระเจ้าแผ่นดิน
                   ใต้เท้า             สรรพนามบุรุษที่ แทนผู้ที่นับถืออย่างสูง
                     หลังบ้าน       ภรรยา
          . คำประสมที่เป็นคำกริยา                 
                   . กริยา + กริยา
                   ผสมเทียม        การทำให้สิ่งมีชิวิตเกิดโดยการผสมไข่และเชื้ออสุจิโดยวิธีทางวิทยาศาตร์
                   ซักฟอก           ซักถามให้ได้ความชัดเจน
                   กวาดล้าง         กำจัดให้สิ้นไป
                   . กริยา + นาม
                   ปิดปาก           ไม่พูด ถูกทำให้ไม่ได้พูด
                   ยกเมฆ            พูดเกินจริง
                   ขายเสียง          ยินยอมลงคะแนนให้บุคคลอื่นเพื่อหวังสิ่งตอบแทน ,  นักร้อง
                   . กริยา + นาม + กริยา
                   ขีดเส้นตาย       ให้โอกาสเป็นครั้งสุดท้าย
                   ลดช่องว่าง       ทำตัวให้เข้ากันได้โดยลดความแตกต่างระหว่างบุคคล
                   ตีบทแตก         แสดงได้สมบทบาท
                   . กริยา + บุพบท
                   เป็นกลาง         ไม่เข้าข้างใดข้างหนึ่ง
                   . กริยา + บุพบท + นาม
                   กินตามน้ำ        โกงกินโดยวิธีที่ดูเหมือนไม่ผิดกฎหมาย
                   ตีท้ายครัว         เข้าติดต่อตีสนิทกับภรรยาผู้อื่นในทางชู้สาว
                   . นาม + กริยา + นาม
                   เลือดเข้าตา       หาทางออกไม่ได้  สู้อย่างไม่กลัวตาย
                   น้ำท่วมปาก      พูดไม่ออกเพราะเกรงจะมีภัยแก่ตนหรือแก่ผู้อื่น
          . ลักษณะของคำประสม
          โดยทั่วไปคำประสมเป็นการนำเอาคำไทยมารวมกัน   แต่ต่อมามีการนำเอาคำภาษาบาลีสันสกฤตรวมกับคำไทยบ้าง   คำบาลีสันสกฤตเหล่านี้เป็นคำที่รู้ความหมายกันดี  เมื่อนำมารวมกับคำไทยแล้ว   มีโครงสร้างทางไวยากรณ์แบบคำไทย    คือคำหน้าเป็นคำหลัก คำขยายอยู่ข้างหน้า   คำเหล่านี้บางทีก็ออกเสียงแบบคำสมาส  เช่น พลเมือง   สรรพคุณ  ผลไม้  ราชวัง  คุณค่า  บางทีก็ไม่ออกเสียงแบบคำสมาส  เช่น มหกรรมสินค้า   รถไฟ  ตู้นิรภัย  ฯลฯ
          ในปัจจุบัน  มีการนำคำไทยประสมกับคำต่างประเทศอื่น อีก  เช่น
          ไทย + เขมร     นายตรวจ  ของขลัง  ดาวประกายพรึก
          ไทย + จีน       เตาอั้งโล่ เต้าฮวยร้อน เข้าหุ้น  นายห้าง  พวงหรีด
          ไทย + อังกฤษ  เด็กปั้ม  ตู้เอทีเอ็ม เรียงเบอร์  ม็อบจัดตั้ง
          ต่างประเทศ + ต่างประเทศ        เต้าฮวยฟรุตสลัด    สวิตซ์อัตโนมัติ
          . ความหมายของคำประสม
          คำประสมมีความหมายเป็น   ลักษณะ คือ
          . มีความหมายเฉพาะ เมื่อนำมารวมกันแล้วซึ่งต้องขยายความ เช่น 
คำประสม
ความหมาย
หน้าอ่อน
ดูอายุน้อยกว่าอายุจริง
ห่อหมก
อาหารคาวชนิดหนึ่งซึ่งต้องผสมพริกแกง เนื้อ กะทิแล้วห่อนำไปนึง
ยาบ้า
ยาเสพติดชนิดหนึ่งเมื่อเสพแล้วเกิดอาการคล้ายเป็นบ้า

          . มีความหมายเปรียบเทียบ แต่ยังมีเค้าความหมายเดิมอยู่ เช่น
คำประสม
ความหมาย
ตีนแมว
นักย่องเบาที่มีพฤติกรรมคล้ายแมวคือเดินเบา
หัวสูง
มีรสนิยมสูง
มือสะอาด
มีความซื่อสัตย์สุจริต

          . คงความหมายของคำเดิม  เช่น
คำประสม
ความหมาย
งูพิษ
งูประเภทหนึ่งมีพิษ
ไข่เป็ด
ไข่ของเป็ด
น้ำหอม
น้ำที่กลั่นจากเครื่องหอม

          หมายเหตุ  คำประสมบางคำอาจจะมีความหมายเป็นสองอย่าง  เช่น  ความหมายเปรียบเทียบกับคงความหมายเดิม  หรือคงความหมายเดิมกับความหมายเฉพาะ  เช่น
คำประสม
ความหมาย
หมายเหตุ
หมาวัด
หมาที่อาศัยอยู่ในวัด
ความหมายคงเดิม
ชายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าหญิงที่หมายปอง
ความหมายเปรียบเทียบ
ไข่แดง
ส่วนประกอบของไขที่มีสีเหลืองอมส้มหรือแดงอยู่ตรงกลาง
ความหมายเฉพาะ
คนที่เด่นอยู่ท่ามกลางเพศตรงข้าม
ความหมายเปรียบเทียบ


          . หน้าที่ของคำประสม
          หน่วยคำหรือคำที่นำมาประกอบกันเป็นคำประสมนั้น  ไม่ว่าจะประกอบด้วยกี่หน่วยคำก็ตาม  ต้องทำหน้าที่ร่วมกันเป็นหน่วยเดียว  คำประสมจะทำหน้าที่ร่วมกันเป็นคำเดียว เช่น
          คำประสมที่เป็นคำนามทำหน้าที่เหมือนคำนาม
          . ประธาน      ข้าวต้มผัดนี้อร่อยมาก
          . กรรม         คุณยายชอบข้าวต้มผัด
          คำประสมที่เป็นคำกริยาหน้าที่เหมือนคำกริยา
          . หน่วยกริยาอกรรม     ผู้อำนวยการคนนี้หน้าอ่อนมาก
          . หน่วยกริยาสกรรม    แม่ครัวเสียรู้แก็งตกทองเสียเงินไปมาก
          . หน่วยทวิกรรม        ทนายซักซ้อมพยานฝ่ายโจทก์เรื่องอาวุธปืน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น