วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560

แบบฝึกหัด เรื่อง คำไทยแท้และคำยืม
๑. เหตุที่ไทยรับเอาภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตเข้ามาในไทยคือข้อใด
                ก. ไทยใช้ภาษาบาลีและสันสกฤตมาตั้งแต่ในหลักศิลาจารึก
                ข. ไทยจำเป็นต้องรู้อักขรวิธีของภาษาทั้งสองเพื่อเทียบเคียงความแตกต่าง
                ค. ไทยรับคำบาลีสันสกฤตเข้ามาใช้เพราะเหตุผลทางศาสนา
                ง. ในหลักศิลาจารึกมีทั้งภาษาบาลีสันสกฤตอยู่ด้วย
๒. ถึงยากจนอย่างไรก็ไม่ว่า 
แต่พร้าขัดหลังมาก็ยกให้
อุตสาห์ทำมาหากินไป
รู้ทำรู้ได้ด้วยง่ายดาย
จากคำประพันธ์ข้างต้น มีคำที่ไม่ใช่คำไทยแท้กี่คำ
                ก. ๑   คำ                ข.  ๒ คำ
                ค. ๓  คำ                 ง.  ๔ คำ
๓. ข้อใดเป็นคำไทยแท้ทั้งหมด
                ก. สะใภ้  มะพร้าว  ตะวัน
                ข. ชอุ่ม  ลูกกระดุม  ตาปู
                ค. ใยบัว  เวไนย  ลำไย
                ง. ชัย  ขี้ไต้  มะม่วง
๔. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะคำไทยแท้
                ก. เป็นคำพยางค์เดียวเท่านั้น
                ข. ใช้ตัวสะกดตรงตามมาตรา
                ค. มีการใช้ลักษณะนาม
                ง. มีการใช้วรรณยุกต์
๕. ข้อใดไม่ใช่คำไทยแท้ทุกคำ
                ก. ตีตนไปก่อนไข้    ข. งอมพระราม
                ค. วัวหายแล้วล้อมคอก   ง. ใจอีกา
๖. ข้อใดเป็นคำไทยแท้ทุกคำ
                ก. คบบัณฑิต  บัณฑิตพาไปหาผล
                ข. กระต่ายหมายจันทร์
                ค. ศรศิลป์ไม่กินกัน
                ง. กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้
๗. ข้อใดเป็นคำไทยแท้ทุกคำ
                ก. เมตตาธรรมเป็นเครื่องคำจุนโลก
                ข. ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
                ค. ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ
                ง. คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร
๘. โอ้ว่าน่าเศร้าใจ จะเมิลไหนก็มืดมัว จากข้อความดังกล่าวมีคำที่มาจากภาษาอื่นกี่คำ
                ก.  ๑   คำ          ข.    ๒    คำ
                ค.  ๓  คำ           ง.    ๔    คำ
๙. ข้อใดเป็นคำไทยแท้ทั้งหมด
                ก. แผงลอย  นานา  รถไฟ  ทะเลาะ
                ข. เรือนจำ  ชื่นชม  แปรปรวน  ยองใย
                ค. หลักการ  อนาถ  กระบือ  ไขว่คว้า
                ง. โก้เก๋  บายศรี  เฒ่าแก่  กรวดน้ำ
๑๐. ข้อใดแตกต่างจากข้ออื่น
                ก. เซ้ง  แซยิด  ก๋วยเตี๋ยว
                ข. ก๊าซ  ปิกนิก  ทัวร์
                ค. เผชิญ  เจริญ  ตริ
                ง. นฤมล  เจ๊ง  โปรแกรม
๑๑. ข้อใดไม่ใช้ลักษณะของภาษาบาลี
                ก. มีพยัญชนะ  ๓๒  ตัว
                ข. มีหลักการใช้ตัวสะกดแน่นอน
                ค. นิยมใช้คำควบกล้ำ
                ง. มีสระน้อยกว่าภาษาสันสกฤต ๖ ตัว 
๑๒.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของภาษาสันสกฤต
                ก. ใช้  ฤ  ฤา
                ข. มีหลักการใช้ตัวสะกดแน่นอน
                ค. นิยมใช้คำควบกล้ำ
                ง. ใช้  ฤ  เมื่อ บาลีใช้  อะ  อิ  อุ
๑๓. ข้อใดเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีทั้งหมด
                ก. อัจฉรา   ศฤงคาร  นิพพาน
                ข. สงฆ์  ไปรษณีย์  เกษตร
                ค. พัสดุ  นาฬิกา  วิริยะ 
                ง.  เขต  สักกะ  พุทธ
๑๔. ข้อใดเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีทั้งหมด
                ก. อัศจรรย์  กฤษณะ  ยุทธ
                ข. อัคคี   พยัคฆ์   ภิกขุ
                ค. สตรี  ราษฎร์  มนุษย์
                ง. ภัสดา  วัตถุ  รุกข์
๑๕. จากข้อ ๑๔  ข้อใดเป็นภาษาสันสกฤตทั้งหมด(ใช้ตัวเลือกในข้อ ๑๔)
๑๖.  ข้อใดมีภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตซึ่งมีความหมายเดิมเหมือนกันอยู่ ๒ คู่
                ก. อัศจรรย์  อาชญา  กัณหา  พิสดาร  อักษร
                ข. อัคคี  รัฐ  ปรัชญา  อัคนี  ครุฬ
                ค. วิชา  ศิลปะ  วิทยา  ครุฑ  กรีฑา
                ง. บุปผา  ปรัชญา บุษบา ปัญญา ภริยา
๑๗. ข้อใดเป็นภาษาบาลีทั้งหมด
                ก. สัมปทาน  จุฑา  สตรี  ศาสตร์
           ข. สัมผัส  มณฑป  กษัตริย์  ไปรษณีย์
                ค. นิสิต  กิจ  วิชา  จุฬา  สมภาร
                ง. สงฆ์  พุทธ  ไอศวรรย์  พฤกษ์  จันทร์
๑๘. ในข้อ ๑จ ข้อใดมีคำบาลี ๒ คำ คำสันสกฤต ๓  คำ (ใช้ตัวเลือกในข้อ ๑๗)
๑๙. ข้อใดแตกต่างจากข้ออื่น
                ก. บำเพ็ญ
                ข. อาทิตย์
           ค. ศิลปากร
                ง. ธรรมศาสตร์
๒๐. ข้อใดไม่ใช่ภาษาเขมร
                ก. แข
                ข. จมูก
                ค. ลักษณะ
                ง. โตนด
๒๑. ข้อใดเป็นภาษาบาลี ๑ คำ ภาษาสันสกฤต ๑ คำ ภาษาเขมร ๒ คำ
                ก. ขณะ กีฬา ศาสดา  ปรัชญา
                ข. บังอร  จักษุ กันยา  กฤษณา
                ค. บังคับ บังคม ตลบ กระบือ
                ง. กิตติ สถาปนา ไพร บรรจุ
๒๒. จากข้อ ๒๑ ข้อใดเป็นภาษาเขมรล้วน
(ใช้ตัวเลือกในข้อ ๒๑)
๒๓. ข้อใดเป็นหลักสังเกตคำไทยที่มาจากภาษาเขมร
                ก. มักใช้เป็นคำราชศัพท์
                ข. ไม่ใช้รูปวรรณยุกต์
                ค. มักขึ้นต้นด้วย สระอำ  เช่น คำ  จำ ชำ ตำ ดำ เป็นต้น
           ง. ถูกทุกข้อ
๒๔. คำว่ามาตราแม่ ก  กา มีความหมายตรงกับข้อใด
                ก. วิธีประสมอักษรในแม่ กบ และกด
                ข. วิธีประสมอักษรที่ไม่มีตัวสะกด
                ค. วิธีประสมคำในแม่ ก กา เช่น กก

                ง. วิธีประสมอักษรในแม่ กก  กบ  กด  กง  กน  กม  เกย  เกอว

1 ความคิดเห็น: