วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

รสวรรณคดี

สรุปรสวรรณคดี
                การแต่งคำประพันธ์นอกจากจะใช้โวหารต่าง ๆ แล้วควรคำนึงรสวรรณคดีด้วย  รสในที่นี้หมายถึง รสคำ  และรสความ  เมื่ออ่านแล้วจะได้เกิดอารมณ์  เกิดมโนภาพ  หรือภาพพจน์    รสวรรณคดีแบ่งได้ดังนี้
                ๑. เสาวรจนี  คือ  รสชมโฉม  หรือแห่งความงามของตัวละครทั้งตัวพระ  ตัวนาง จะเป็นการชมความงามตามธรรมชาติวัตถุสิ่งของก็ได้
                ๒. นารีปราโมทย์  คือ  รสแห่งความรัก  เล้าโลม  โอโลม   ปฏิโลม
                ๓. พิโรธวาทัง    คือ  รสแห่งความโกรธเคือง  ขุ่นข้องใจ  ตัดพ้อ  ต่อว่า    เสียดสี
                ๔. สัลลาปังคพิไสย  คือ  รสแห่งความโศกเศร้า  คร่ำครวญ 
(บทกลอนสำหรับจำ    เสาวรจนี   นี้ชมโฉม             ถ้าเล้าโลม นารีปราโมทย์ หวัง
                               หากเคืองโกรธ  พิโรธวาทัง         สัลลาปังคพิไสย  ใจคร่ำครวญ  )
ตัวอย่างรสวรรณคดี

รสวรรณคดีตามแบบวรรณคดีสันสกฤต
                รสวรรณคดีตามแบบสันสกฤต  แบ่งออกเป็น    รส
                ๑. ศฤงคารรส      คือ   รสแห่งความรัก
                ๒. หาสยรส         คือ   รสแห่งความขบขัน
                ๓. กรุณารส        คือ   รสแห่งความสงสาร
                ๔. รุทธรส            คือ   รสแห่งความโกรธเคือง
                ๕. วีรรส                คือ   รสแห่งความกล้าหาญ
                ๖. ภยานกรส        คือ   รสแห่งความกลัวและความเวทนา
                ๗. ภีภัตสรส         คือ   รสแห่งความรังเกียจ  ชิงชัง
                ๘. อัพภูตรส       คือ    รสแห่งความพิศวง  ประหลาดใจ
                ๙.  ศานติรส         คือ   รสแห่งความสงบ
คำประพันธ์เพื่อท่องจำ
                ศฤงคาร  ความรักมั่น         ความขบขัน หาสยะ
กรุณา  จำไว้นะ                                    กำหนดรสความสงสาร
โกรธเคืองคือ รุทธะ                            ส่วน วีระรส กล้าหาญ
ภยานนกะ  ปาน                                  รสความกลัวเวทนา
รังเกียจชิงชังนี้                                     ภีภัตสะ จำทุกครา
อัพภูตรส หนา                                     พิศวงประหลาดใจ
านติรส สงบ                                      จำให้ครบเก้ารสไซร้
ใครจำได้เร็วไว                                     จะรู้รสวรรณคดี  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น