วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คำคู่ คำซำ คำซ้อน

คำคู่  คำซ้ำ  คำซ้อน
คำคู่    เป็นคำสองคำที่เป็นคำสองภาษา  เกิดขึ้นเพื่อให้เข้าใจความหมายได้ถูกต้อง
                                ดั้งจมูก        (ดั้ง ไทย  จมูก-เขมร)
                                สิงโต           (สิง-บาลี   โต-ไทย)
                                นัยน์ตา        (นัยน์-บาลี  ตา-ไทย)
                                จิตใจ           (จิต-บาลี   ใจ-ไทย)
                                ญาติพี่น้อง   (ญาติ-บาลี   พี่น้อง-ไทย)
                                ผลหมาก      (ผล-บาลี    หมาก-ไทย)    ฯลฯ
คำซ้ำ     เกิดจากการซ้ำเสียง  และมีความหมายเดียวกัน มีลักษณะคล้ายคำประสม
                คำสามานยนาม           เช่น  เด็ก ๆ  เพื่อน ๆ  ลูก ๆ

                คำลักษณนาม              เช่น  ชิ้น  กอง ๆ  แผ่น ๆ

                คำสมุหนาม                 เช่น ฝูง ๆ  โขลง ๆ  หมู่ ๆ
                คำสรรพนาม                เช่น  เรา ๆ  ท่าน ๆ  คุณ ๆ  เธอ ๆ
                คำกริยา                       เช่น  ดู ๆ   เดิน ๆ
                คำบุพบท                     เช่น  ใกล้ ๆ  ใน ๆ  บน ๆ  ล่าง ๆ
                คำวิเศษณ์บอกจำนวน  เช่น   หลาย      ทุก 
                คำวิเศษณ์บอกลำดับ    เช่น  แรก ๆ  ท้าย ๆ  ต้น ๆ
ความหมายของคำซ้ำ
                . คำซ้ำที่เป็นคำสามานยนาม  มักมีความหมายเป็นพหูพจน์  เช่น  น้อง ๆ ไม่อยู่บ้านสักคน  ,
แม่ ๆ  ยืนดูลูก ๆ  อยู่ริมสนาม
                . คำซ้ำที่เป็นคำลักษณะนาม  มักบอกความหมายว่า  มีสิ่งนั้นเป็นจำนวนมาก  เช่น
เขาหั่นเนื้อออกเป็นชิ้น ๆ
                . คำซ้ำที่เป็นคำกริยามักมีความหมายว่า  ทำกริยาซ้ำ ๆ หรือต่อเนื่องกัน  เช่น  เรื่องนี้ฟัง ๆ ดูท่าจะยุ่ง
                . คำซ้ำเป็นคำวิเศษณ์ขยายคำสามมานยนาม  มักมีความหมายว่าอยู่ในพวกใด
เช่น   เขาเป็นคนชอบคนขาว ๆ
                . คำซ้ำที่คำต้นเป็นเสียงสูง  จะเน้นความหมายว่ากระทำอาการนั้นหรือมีสภาพนั้นอยู่มาก และเป็นไปในแง่บวก เช่น   เขาดี๊ดี (เขาดีมาก)
                . คำซ้ำบางคำจะเปลี่ยนความหมายไปจากเดิม เช่น  แกรบเร้าอยากจะไป   แต่ไป ๆ  ก็ลืม (ไป ๆ = นาน)
คำซ้อน    เกิดจากการนำคำมาซ้อนกัน  มักเป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน  หรือเสียงใกล้เคียงกันเป็นการขยายคำในภาษาไทยประการหนึ่ง
                . คำซ้อนเพื่อความหมาย   เช่น  ทอดทิ้ง  ท้วงติง  แก้ไข  ราบเรียบ  ถ้วยชาม  ขัดถู ดูแล  ข้าวปลา  ถี่ห่าง  ห่างเหิน  ทิ้งขว้าง ใกล้ชิด  ต้อนรับขับสู้  เต็มอกเต็มใจ  
                . คำซ้อนเพื่อเสียง  เช่น  รุ่งเรือง ฟืดฟาด  ซุ่มซ่าม  โยกเยก  โย้เย้  เกรียวกราว เตลิดเปิดเปิง  ทาบทาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น