ขูลูนางอั้ว
เริ่มด้วยบทประณามพจน์ เกริ่นว่าเป็นชาดก ท้าวขูลู โอรสเจ้าเมืองกาสี และนางอั้วเคี่ยมเกิดเป็นธิดาเจ้าเมืองกายนคร ทั้งสองเมืองมีความสัมพันธ์อันดี เจ้าเมืองและมเหสีของทั้งสองต่างเป็นเพื่อนกัน และเคยให้คำมั่นสัญญากันไว้ว่าถ้ามีลูกชายลูกสาวฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะยกให้อภิเษกสมรสกัน ท้าวขูลูและนางอั้วเคี่ยมเกิดปีเดียวกัน เมื่อโตขึ้นนางอั้วเคี่ยมมีความงดงามมาก เล่าลือไปถึงเมืองขุนลาง ซึ่งเป็นขอมขาก่ำ(เขมรป่าดง) จึงล่าสัตว์มาถวายเจ้าเมืองกายนคร เมื่อท้าวขูลูเจริญวัยอยากมีคู่ครอง จึงลามารดามาเที่ยวเมืองกายนคร ได้นำเครื่องบรรณาการมาถวายเจ้าเมืองด้วย ท้าวขูลูและนางอั้วเคี่ยมต่างมีใจปฏิพัทธ์ซึ่งกันและกัน ท้าวขูลูอยู่ที่เมืองกายระยะหนึ่ง จึงขอลานางกลับเมืองเพื่อจะส่งผู้ใหญ่มาสู่ขอ ขุนลางได้ส่งผู้ใหญ่มาสู่ขอนางอั้วเคี่ยม มารดานางอั้วเคี่ยมไม่รับปากเพราะโกรธมารดาของขูลูซึ่งเป็นเพื่อนกัน เมื่อครั้งตอนนางตั้งครรภ์นางอั้วเคี่ยม นางได้ไปเที่ยวอุทยานของเมืองกาสี ครั้นเห็นผบส้มเกลี้ยงในอุทยานอยากจะกินตามประสาคนแพ้ท้อง แต่มารดานางอั้วเคี่ยมไม่ให้ อ้างว่าสัมเกลี้ยงยังไม่สุก นางน้อยใจและด้วยความโกรธจึงตัดความเป็นเพื่อนกัน นางอั้วเคี่ยม เมื่อทราบข่าวว่ามารดารับปากการสู่ขอของขุนลาง นางเสียใจและไม่ยอมรับ นางกล่าวว่าขุนลางเป็นคนนอกศาสนาไม่นับถือพระธรรม แต่อยากไรก็ตามมารดาของนางอั้วเคี่ยมก็ยังยืนยันที่จะยกนางอั้วให้กับขุนลาง
ฝ่ายท้าวขูลูได้บอกให้บิดามารดามาสู่ขออั้วเคี่ยม ครั้นแม่สื่อของท้าวขูลูมาสู่ขอมารดาของนางอั้วไม่ยอมตกลง อ้างว่าได้ตกลงกับฝ่ายขุนลางไว้แล้ว ขูลูจึงให้บิดาส่งแม่สื่อของสู่ขออีกโดยอ้างข้อตกลงระหว่างบิดาของทั้งสองฝ่ายที่ว่าจะให้บุตรธิดาของแต่ละฝ่ายแต่งงานกัน แต่มารดานางอั้วก็ได้กล่าวถึงกรณีขอส้มเกลี้ยงคราวนั้น จึงขอคืนคำสัญญาทั้งหมด
ในที่สุดก็ตกลงว่าจะทำพิธีเสี่ยงสายแนนคือเชื่อว่าทุกคนจะมีสายรกพัวพันกันอยู่บนเมืองแถนก่อนมาเกิด และคนเราต้องเป็นคู่กันตามสายแนนนั้น ๆ (ตามคำกล่าวคู่จากแถนแนนจากฟ้า) ถ้าแต่งงานกันผิดสายแนนจะต้องหย่าร้างกัน ฉะนั้นเพื่อจะดูว่าทั้งสองเป็นคู่กันหรือไม่ต้องทำพิธีเสี่ยงสายแนน คือให้คนทรงทำพิธีเซ่นพระยาแถนและได้นำของไปถวายพระยาแถน เพื่อขอดูสายแนนของขูลูและนางอั้ว พบว่าสายแนนทั้งสองพัวพันกันอยู่ แต่ตอนปลายยอดด้วนและปลายแยกออกจากกัน ซึ่งแสดงว่าเป็นเนื้อคู่กันแต่ต้องพลัดพรากจากกัน นอกจากนั้นพบว่าสายแนนของขูลูมีแท่นทองอยู่ด้วย ซึ่งแสดงว่าเป็นพระโพธิสัตว์ เมื่อแม่สูน(นางทรง,นางเทียม) กลับมาได้แจ้งว่าทั้งสองเป็นเนื้อคู่กัน แต่ต้องตายจากกัน
ฝ่ายขุนลางได้ส่งคนมาทาบทามอีกครั้งหนึ่ง เพื่อกำหนดการอภิเษกสมรสและเพื่อฟังข่าวว่านางอั้วจะตกลงหรือไม่ ส่วนมารดาของนางอั้วก็ตอบตกลงและให้กำหนดแต่งงานในเดือนหน้า นางอั้วทราบข่าวจึงโศกเศร้าเสียใจมากจึงให้คนรับใช้ไปเชิญท้าวขูลูมาพบ ท้าวขูลูและนางอั้วได้พบกันและบอกให้นางอั้วคอยตนเองจะกลับไปเมืองกาสีและยกทัพมาชิงเอาตัว
ด้านมารดานางอั้วทราบว่าบุตรตนเองลักลอบพบกับท้าวขูลู จึงโกรธและต่อว่านางอั้วไปเล่นชู้ ไม่รักนวลสงวนตัว ทำให้เสียชื่อเสียงวงศ์ตระกูล นางอั้วจึงคิดจะฆ่าตัวตาย ก่อนตายกวีได้พรรณนาความในใจของนางอั้วที่ยังอาลัยอาวรณ์กับสิ่งข้าง ๆ รอบตัว โดยเฉพาะได้รำพันถึงพระคุณของมารดา รำพันร่ำลาปราสาทราชวัง ญาติและคนใกล้ชิด ในที่สุดนางก็ผูกคอตายในสวน ความทราบถึงเจ้าเมืองและมารดาต่างก็เสียใจ และนำศพเข้าบำเพ็ญกุศล ส่วนขุนลางก็ถูกธรณีสูบในคราวเดียวกันด้วย
ท้าวขูลูทราบข่าวการตายของนางอั้ว ท้าวขูลูเสียใจมากเกิดอาการคุล้มคลั่งไม่เป็นอันกินอันนนอน ประจวบกับผีตายโหงเข้าสิงจึงเอามีดมาแทงคอตนเองตายในที่สุด ผู้แต่งได้ดำเนินเรื่องย้อนไปถึงอดีตชาติ ที่ท้าวขูลูและนางอั้วได้ก่อเวรไว้ จึงต้องมารับใช้กรรมในชาตินี้ คือไม่สมหวังในความรัก ว่า เมื่อชาติก่อนท้าวขูลูเป็นเจ้าเมืองเบ็งซอน นางอั้วเป็นมเหสีชื่อนางดอกซ้อน มีผัวเมียคู่หนึ่งไม่ย่ำเกรงนางดอกซ้อนทำให้นางไม่พอใจจึงไปฟ้องให้เจ้าเมืองลงโทษสามีภรรยาคู่นี้ เจ้าเมืองจึงสั่งไม่ให้เป็นผัวเมียกัน หากพี่น้องคนใดชักนำให้มาอยู่กินเป็นผัวเมียกันอีกจะถูกประหาร ทำให้ผัวเมียคู่นีเสียใจมาก ฝ่ายเมียผูดคอตาย และสามีใช้มีดแทงคอตายตามกัน ทำให้ในชาตินี้ท้าวขูลูและนางอั้วจึงต้องรับกรรมในชาตินี้ ท้าวขูลูและนางอั้วจึงได้ไปสวรรค์และได้พบกันอีกครั้ง
ฝ่ายเมืองกาสีและเมืองกายนคร ก็จัดพิธีงานศพทั้งสอง และนำมาเผาเคียงคู่กัน สร้างพระธาตุบรรจุอัฐิทั้งสองไว้ในที่เดียวกัน ทั้งสองเมืองกลับมาสมัครสมานสามัคคีดังเดิมท้าวขูลูและนางอั้วได้แสดงอภินิหาริย์ให้ชาวเมืองได้เห็น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น